พิมพ์สกรีน

การพิมพ์สกรีนเป็นการสรรค์สร้างลวดลายที่มีอัตลักษณ์ลงบนผืนผ้า อันเป็นปัจเจกที่ไม่เหมือนใคร ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์สกรีนบนเครื่องนุ่มห่ม ของตกแต่งบ้าน หรือ ของใข้ต่างๆ เช่น กระเป๋าผ้า ถุงผ้า ล้วนแล้วแต่เพื่อให้นักออกแบบและศิลปินสามารถนำจินตนาการและวิสัยทัศน์ของพวกเขามาสู่ชีวิตบนผืนผ้าได้ อย่างไร้ขีดจำกัด  การพิมพ์สกรีนยังคงเป็นวิธีที่นิยมในการแสดงความคิดสร้างสรรค์และทิ้งความประทับใจไว้บนเนื้อผ้า

การพิมพ์สกรีนบนสิ่งทอในปัจจุบันนี้ถือว่าได้รับความนิยมอย่างมาก และ เทคโนโลยีทางการพิมพ์สกรีนได้พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว เราสามารถพิมพ์สกรีนงานที่ละเอียดและมีความซับซ้อนได้มากขึ้น ด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัย และ ส่วนประกอบของสีสกรีนที่ทำให้ชิ้นงานมีความโดดเด่น ทำให้ผลิตภัณฑ์ของคุณโดดเด่นไม่เหมือนใคร งานพิมพ์สกรีนบนผ้าในปัจุบันมีหลายประเภทซึ่งในที่นี้เราจะอธิบายการพิมพ์สกรีนบนผ้าแบบคร่าวๆดังนี้

ซิลค์สกรีน Silk Screen

เป็นการพิมพ์สกรีนโดยใช้เทคนิคการปาดสีผ่านผ้าสกรีน สีที่ถูกปาดผ่านผ้าสกรีนจะปรากฎลวดลายตามที่เราได้ออกแบบไว้ การพิมพ์สกรีนด้วยวิธีแบบนี้เป็นที่นิบมมากเนื่องจากมีต้นทุนที่ต่ำ งานพิมพ์สกรีนที่ได้จะมีสีสันที่สดใส และ นอกจากพิมพ์สกรีนบนผ้าแล้วได้หลายประเภทแล้ว เทคนิคการสกรีนแบบนี้ ยังสามารถพิมพ์สกรีนได้บนวัสดุชนิดอื่นได้อีก เช่น กระดาษ ไม้ เหล็ก พลาสติก เป็นต้น 

ดิจิตอล Digital

เป็นการพิมพ์สกรีนโดยใช้เครื่องพิมพ์อิงเจ็ทสำหรับการพิมพ์ลงบนผืนผ้าโดยเฉพาะ เรามักจะได้ยินการเรียกเทคนิคพิมพ์สกรีนแบบนี้ในอีกชื่อนึงว่า DTG (Direct to Garment) การพิมพ์สกรีนด้วยวิธีนี้จะเหมาะกับงานพิมพ์ที่ต้องการความละเอียดสูง เช่น รูปถ่าย หรือ ลวดลายที่มีเส้นสายที่เล็ก และ มีจำนวนที่น้อย 

ความร้อน Heat Transfer

เทคนิคการพิมพ์สกรีนแบบนี้ จะต้องพิมพ์ลวดลายที่ต้องการลงบนกระดาษเฉพาะก่อนจะนำไปรีดด้่วยความร้อนเพื่อให้หมึกบนกระดาษ ถูกถ่ายเทไปยังผืนผ้า ซึ่งเทคนิคนี้จะถูกแบ่งได้อีก 3 ประเภท ดังนี้

ทรานเฟอร์ (Transfer) : เป็นการสกรีนโดยการพิมพ์ลวดลายที่ต้องการลงบนกระดาษ Transfer โดยเฉพาะ แล้วนำมารีดด้วยความร้อนอีกครั้ง ความร้อนจะทำให้หมึกบนกระดาษทรานเฟอร์ (Transfer) ถ่ายเทไปเกาะอยู่บนผิวของผ้า วิธีนี้มีข้อดีคือเหมาะสำหรับงานสกรีนที่มีจำนวนน้อย และ ต้นทุนที่ไม่สูงมากนัก แต่จะมีข้อควรระวังคือ ชิ้นงานที่พิมพ์สกรีนเสร็จแล้วจะไม่สามารถใช้เตารีด รีดลงบนตำแหน่งที่สกรีนได้โดยตรง เพราะจะทำให้สีสกรีนติดเตารีด และต้องระมัดระวังในการซัก

ซับลิเมชั่น (Sublimation) : เป็นการสกรีนที่พัฒนามาจากการรีดร้อน Transfer ยังคงต้องพิมพ์ลวดลายลงบนกระดาษเฉพาะเหมือนกัน ในเทคนิคนี้ ต้องพิมพ์ลวดลายลงบนกระดาษซับลิเมชั่น (Sublimation) ด้วยเทคนิคนี้หมึกสกรีนจะซึมลงบนเนื้อผ้า มีความคงทนมากกว่าเทคนิคทรานเฟอร์ ไม่เหมือนกับวิธีทรานเฟอร์ที่เกาะอยู่แค่บนผิวผ้า ชิ้นงานที่พิมพ์สกรีนเสร็จแล้วสามารถซักรีดได้ตามปรกติอีกทั้งยังสามารถนำเตารีด รีดทับได้โดยที่สีสกรีนไม่ติดเตารีด  จึงทำให้เทคนิคนี้เป็นที่นิยมมากกว่าเทคนิคทรานเฟอร์

ฟิลม์เฟล็กซ์ (Film Flex) : เทคนิคนี้ ยังคงใช้ความร้อนเป็นตัวกลางในการสกรีน แต่จะแตกต่างจาก 2วิธีข้างต้น คือลวดลายที่จะสกรีนต้องนำไปตัดบนแผ่นฟิลม์เฟล็กซ์ ผ่านเครื่องตัดสติ๊กเกอร์ แล้วจึงนำไปรีดด้วยเครื่องรีดร้อนอีกครั้งหนึ่ง ชิ้นงานที่ได้จะเกาะอยู่บนผิวผ้าได้คงทนกว่าเทคนิคการสกรีนแบบซิลค์สกรีน(กรณีใช้สียาง หรือ สีลอย) เพราะฟิลม์เฟล็กซ์จะมีกาวคอยช่วยทำหน้าที่เป็นตัวผสานช่วยในการยึดเกาะกับผิวผ้า อีกทั้งเนื้อฟิลม์เฟล็ซ์มีความยืดหยุ่นสูงและคืนรูปได้ดี จึงทำให้เมื่อชิ้นงานถูกดึงยืดออกงานสกรีนจะไม่แตกตัว เทคนิคนี้เหมาะสำหรับ ลวดลายที่ไม่ซับซ้อนมีสีเดียว เช่น ตัวอักษร หรือ โลโก้สีตาย